โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease หรือ AD)

ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง

โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer's disease ) หรือภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง สมองสูญเสียหน้าที่การทำงานในด้านต่างๆ ทำให้กระบวนการรู้คิดบกพร่อง จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและการอยู่ร่วมกันในสังคม ถือเป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในผู้สูงอายุ จากสถิติขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2558 พบผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมถึง 47.47 ล้านคน และประมาณการณ์ว่าจะเพิ่มสูงถึง 75 ล้านคนในปี พ.ศ. 2573

สำหรับภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทยนั้น พบภาวะสมองเสื่อมโดยเฉลี่ยร้อยละ 2 ถึง 10 และจากข้อมูลสถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ปีพ.ศ.2563 พบมีจำนวนผู้สูงอายุรวมทั้งสิ้น 11,627,130 คน       คิดเป็นร้อยละ 17.57 ของประชากร จึงคาดการณ์ว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทยอาจมีจำนวนสูงถึงกว่าล้านคนหากภาวะสมองเสื่อมเกิดขึ้นแล้ว จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพา ต้องการความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นๆทุกๆด้านอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่งผลกระทบด้านลบต่อครอบครัว ญาติ ผู้ดูแล และระบบบริการสุขภาพของประเทศ

ดังนั้นความรู้ความเข้าใจในการอาการและอาการแสดง รวมถึงการดูแลรักษาจะมีส่วนช่วยอย่างมาก ในการที่จะบรรเทาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าในปัจจุบันพบว่ากัญชาหรือสารสกัดจากกัญชาสามารถใช้ป้องกัน ชะลอโรคสมองเสื่อม หรือรักษาอาการอันเนื่องมาจากการเสื่อมของสมอง เช่น ความผิดปกติด้านการรู้คิดและอาการทางประสาทจิตเวชได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนในการใช้กัญชาหรือสารสกัดจากกัญชาในมนุษย์ เพื่อรักษาอาการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมก่อนนำสารสกัดจากกัญชาไปใช้ และไม่ควรใช้กัญชาในการรักษาแทนการรักษามาตรฐานที่มีอยู่ ทั้งนี้ภาวะสมองเสื่อมยังไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ก็ตาม

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมอง มี3สมมุติฐาน โดยสมมุติฐานแรกคือ เกิดจากสารสื่อประสาทแอซิทิลโคลีน (Acetylcholine) ลดลง สมมุติฐานที่สองคือ เกิดจากโปรตีนชื่อ เบต้า-อะไมลอยด์ (beta-amyloid) ไปจับกับเซลล์สมอง ทำให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง รวมถึงทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีน (acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ สมมุติฐานที่สามคือ มีความผิดปกติของโปรทีนเทา (Tau protein) ทำให้เกิดกลุ่มใยประสาทพันกัน (Neurofibrillary tangles) สะสมในตัวเซลล์ประสาท เกิดการทำลายระบบการขนส่งภายในเซลล์ ทำให้เซลล์ประสาทตาย โดยปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์  มีแต่การให้ยาเพื่อชะลออาการเท่านั้น โดยมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่

  • อายุ ส่วนมากพบในช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป ความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์จะเพิ่มขึ้นตามอายุ
  • พันธุกรรม คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคอัลไซเมอร์ มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางพันธุกรรมที่ชัดเจน เพียงแต่พบการเกี่ยวข้องในการสร้าง apolipoprotein E (APOE e4) ที่ผิดปกติ จะส่งผลให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมนี้จะเกิดโรคอัลไซเมอร์ทั้งหมด
  • โรคดาวน์ซินโดรม ผลจากพันธุกรรมของโครโมโซมคู่ที่ 21 สามารถทำให้เกิดการสะสมของอะไมลอยด์ขึ้นในสมองจนนำไปสู่โรคอัลไซเมอร์ได้ในบางราย
  • การบาดเจ็บศีรษะอย่างรุนแรง เนื่องจากเซลล์สมองมีความเสียหาย ส่งผลให้มีความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์มากขึ้น
  • โรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูงและคอเลสเตอรอล โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต โรคเบาหวาน รวมถึง ภาวะซึมเศร้า
  • การนอนหลับ การนอนหลับที่ไม่เพียงพอหรือไม่มีคุณภาพ เช่น มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) โรคของการเคลื่อนไหวผิดปกติช่วงนอน (Restless Leg Syndrome) ทำให้มีผลต่อการซ่อมแซมเซลล์สมองในช่วงระหว่างการนอนหลับลึก และการรวบรวมความจำในช่วงระหว่างการนอนหลับตื้น
  • พฤติกรรม เช่น การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น

อาการของอัลไซเมอร์

อาการแรกเริ่มที่สำคัญของผู้ป่วยอัลไซเมอร์คือการสูญเสียความจำระยะสั้น ซึ่งเป็นอาการที่ใกล้เคียงกับภาวะความจำเสื่อมตามธรรมชาติในผู้สูงอายุ แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยร้อยละ 80-90 จะมีอาการทางพฤติกรรมหรือทางจิตเวชร่วมด้วย ซึ่งอาการทางพฤติกรรมนี่เองที่ทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะรายที่มีอาการก้าวร้าว 

อาการทั่วไปของโรคอัลไซเมอร์

ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีความจำถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้ ชอบถามซ้ำ พูดซ้ำๆ เรื่องเดิม สับสนทิศทาง เริ่ม เครียด อารมณ์เสียง่ายและซึมเศร้า แต่ยังสื่อสารและทำกิจวัตรประจำวันได้ ระยะนี้เป็นระยะที่คนรอบข้างยังสามารถดูแลได้

ระยะกลาง ผู้ป่วยมีอาการชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลงอีก เดินออกจากบ้านไปโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมเปลี่ยนไปมาก เช่น จากที่เป็นคนใจเย็นก็กลายเป็นหงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย หรือจากที่เป็นคนอารมณ์ร้อนก็กลับกลายเป็นเงียบขรึม และเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ชงกาแฟไม่ได้ ใช้รีโมททีวีหรือโทรศัพท์มือถือไม่ได้ คิดอะไรที่ไม่ถูกต้อง ไม่อยู่ในโลกของความจริง เช่น คิดว่าจะมีคนมาฆ่า มาขโมยของ คิดว่าคู่สมรสนอกใจ ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอาการที่ยากต่อการดูแลและเข้าสังคม

ระยะท้าย ผู้ป่วยอาการแย่ลง ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยติดเตียง รับประทานได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สมองเสื่อมเป็นวงกว้าง ไม่พูดจา ภูมิคุ้มกันอ่อนแอซึ่งมักนำไปสู่การติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด โดยระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่แรกวินิจฉัยจนเสียชีวิตเฉลี่ยประมาณ 8-10 ปี

Cr. รูปภาพจาก Heritia

สาร THC ในกัญชาต่อการรักษาอาการของโรคอัลไซเมอร์

จากงานวิจัยหลายๆ สถาบันเปิดเผยว่าสาร THC ในกัญชา มีคุณสมบัติลดการผลิตโปรตีนเบต้า อะไมลอยด์ (beta-amyloid) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เซลล์สมองทำงานด้อยลง และถูกทำลาย อีกทั้งสาร THC ช่วยชะลอการทรุดของโรคอัลไซเมอร์ โดยทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งโปรตีนชนิดนี้ และช่วยในเรื่องกระตุ้นให้ผู้ป่วยตื่นตัว, อารมณ์ของผู้ป่วย, ลดอาการซึมเศร้า, นอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น, ลดความเครียด ความกลัว, ลดภาวะอักเสบ , ทำให้เจริญอาหาร

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคอัลไซเมอร์

การดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์จำเป็นต้องดูแลอย่างเป็นองค์รวม ประกอบด้วยการดูแลรักษาในด้านกายภาพ ด้านจิตใจและพฤติกรรม ด้านการเข้าสังคม รวมไปถึงการให้ความรู้และสนับสนุนญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานการรักษาโรคให้หายขาด จึงมุ่งเน้นการดูแลรักษาเพื่อช่วยลดความบกพร่องทางการรู้คิด และสนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันและเข้าสังคมได้มากที่สุด โดยแบ่งเป็น  การรักษาโดยไม่ใช้ยา (Non-Pharmacological Management) และ
การรักษาด้วยยา (Pharmacological Management)

การรักษาโดยไม่ใช้ยามีอยู่หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับภาวะความรุนแรงของโรคและความสามารถในการเรียนรู้ของผู้ป่วยแต่ละราย โดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมตามระยะของโรค ดังนี้

  • การดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันและการฝึกทักษะการเข้าสังคม

        ให้ผู้ป่วยได้ร่วมดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันของตนเองโดยมีผู้ดูแลคอยสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือตามขีดความสามารถของผู้ป่วย

        สนับสนุนให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่มีส่วนร่วมในสังคมครอบครัวและสังคมภายนอกตามความเหมาะสม

  • การดูแลปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

ลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้อาการแย่ลง เช่น เสียงรบกวน รวมถึงการปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัยง่ายต่อการใช้งาน เช่น ให้พื้นเรียบ ไม่มีของเกะกะทางเดินและแสงสว่างเพียงพอ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ

  • การให้ความรู้กับผู้ดูแลผู้ป่วย

เนื่องจากผู้ป่วยจะเข้าสู่สภาวะที่ต้องพึ่งพา ผู้ดูแลเป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่ต้องเข้าใจการดำเนินของโรค และความรู้เกี่ยวการดูแลผู้ป่วยในแต่ละระยะของโรค รวมไปถึงสนับสนุนการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วย

  • การฟื้นฟูผู้ป่วยสมองเสื่อมด้านกายภาพ

เนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการสมองเสื่อมอาจมีขีดความสามารถในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ลดลง การปรับอุปกรณ์ให้ง่ายต่อการใช้งานหรือปรับกิจกรรมให้เรียบง่ายและปลอดภัย รวมไปถึงการฝึกการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสโดยการบีบ จัด นวด การกระตุ้นกิจกรรมการเคลื่อนไหวจะทำให้ผู้ป่วยได้ฝึกสมรรถภาพทางกายภาพได้ดียิ่งขึ้น

  • การดูแลด้านพฤติกรรมและจิตบำบัด

ปัญหาเรื่องพฤติกรรมและอารมณ์เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย อาจต้องใช้การรักษาควบคู่ทั้งการรักษาด้วยยาและพฤติกรรมและจิตบำบัด อาจใช้การให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเพื่อให้เข้าใจผู้ป่วยและมีวิธีการดูแลได้อย่างเหมาะสม เช่น การเบี่ยงเบนความสนในผู้ป่วยออกจากเรื่องที่กำลังหงุดหงิดหรือโมโห การเสริมสร้างด้านอารมณ์ด้วยดนตรีบำบัด เป็นต้น

GWellness จีเวลเนส สหคลินิก "คลีนิกกัญชาทางการแพทย์"
 
ยินดีให้คำปรึกษา พร้อมดูแลทุกอาการเจ็บปวด โรคเฉพาะที่กัญชาช่วยได้
เปิดให้บริการทุกวัน 10.00 - 20.00
สนใจสอบถามรายละเอียด
093-596-7202
 
พิกัด : ตลาดโรงเกลือท้ายเกาะ สามโคก ปทุมธานี
 
Comments

เพิ่ม Says ในหน้าจอหลัก