กัญชารักษาโรคลมชักได้จริงไหม

โรคลมชักเป็นหนึ่งในความผิดปกติของเซลล์สมอง

โรคลมชักเป็นหนึ่งในความผิดปกติของเซลล์สมอง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันของไฟฟ้าสมองที่ออกมาจากกลุ่มเซลล์ที่ผิดปกติพร้อมๆกัน และทำให้มีอาการชัก

อาการชักมีสองประเภท คือ การชักที่มีผลต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของสมอง (Partial Seizures)และอาการชักที่มีผลต่อทุกส่วนของสมอง (Generalized Seizures) หรือที่รู้จักโดยทั่วไปว่าลมบ้าหมู ซึ่งประเภทของลมชักนั้นขึ้นอยู่กับส่วนของสมองที่เกิดกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติ และกระบวนการเริ่มต้นของการรบกวนของกระแสไฟฟ้าในสมอง

Premium Vector | Generalized and partial seizure. epilepsy and abnormal  brain activity. medical research vector

กัญชาเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาในการรักษาของแพทย์แผนไทยมายาวนาน โดยพืชกัญชาที่นำมารักษานั้นผ่านกระบวนการสกัด โดยสารสกัดที่นำมารักษาโรคลมชักคือCBDและTHC

ในปัจจุบันมีงานวิจัยหลากหลายทั้งในและต่างประเทศในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการรักษาโรคลมชักด้วยสารสกัดกัญชา ซึ่งจากการศึกษานั้นพบว่าสารสกัดกัญชาสามารถใช้รักษาโรคลมชักในผู้ป่วยที่รักษาอย่างต่อเนื่อง เป็นการรักษาระยะยาวซึ่งจะค่อย ๆ มีการปรับขนาดของยาทีละน้อยเพื่อป้องกันการชักซ้ำ

CBD-enriched Medical Cannabis Product for Pediatric Drug Resistant Epilepsy Treatment in Thailand : Experiences from 2 Centers in Department of Medical Services, Ministry of Public Health

เป็นวิจัยที่ศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ หรือ MPC (medical cannabis product) สำหรับผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษายากในเด็ก (PDREs) ในประเทศไทย โดยดำเนินการที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติสิริกิติ์ ในอัตราส่วน CBD:THC ≥ 20:1

จากการทดลองของผู้ป่วยที่เป็น PDREs จำนวน 14 คน พบว่า MPC มีประสิทธิภาพ และสามารถนำมาใช้อย่างต่อเนื่องมากกว่า 12 ในผู้ป่วย PDREs ในไทย ส่วนอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ย้า ADEs เป็นเรื่องปกติ แต่คนส่วนใหญ่ยอมรับได้ โดยแนะนำให้เริ่มต้นใช้ขนาดต่ำ และสามารถเพิ่มจำนวนอย่างช้าๆ และติดตามผลอย่างใกล้ชิดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่พึงประสงค์ร้ายแรงในช่วง 3 เดือนแรก

Cannabidiol in patients with treatment-resistant epilepsy: an open-label interventional trial.

ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคลมชักรักษายาก อายุ 1-30 ปี จำนวน 214 ราย โดยเริ่มใช้ยา CBD ปริมาณ 2-5 mg/kg/day และเพิ่มปริมาณยาสูงสุดอยู่ที่ 25 mg/kg/day หรือ 50 mg/kg/day  โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอาการชักแบบเกร็งกระตุกและอาการชักแบบเฉพาะที่ภายใน 12 สัปดาห์

จากผลการศึกษาพบว่า สามารถลดอาการชักแบบเกร็งกระตุกได้ร้อยละ 36.5 และลดอาการชักเฉพาะที่ได้ ร้อยละ 55 และมีผลข้างเคียงที่พบ ได้แก่ ง่วงนอน เบื่ออาหาร ท้องเสีย และอ่อนเพลียร้อยละ 10

Cannabidiol in patients with seizures associated with Lennox-Gastaut syndrome (GWPCARE4):  a randomised, double-blind, placebo-controlled phase 3 trial.

จากการศึกษากลุ่มโรคลมชักในเด็กที่มีความรุนแรง พบว่าการใช้ยา CBD ในผู้ป่วยโรคลมชักในเด็กที่มีความรุนแรง ในปริมาณ 20 mg/kg/day และ 10 mg/kg/day สามารถลดอาการชักชนิด Drop seizure (การชักที่มีอาการศีรษะผงกหรือตัวเกร็งแล้วทำให้เกิดการล้ม) ภายใน 12 สัปดาห์

กลไกการออกฤทธิ์ของกัญชาต่อโรคลมชัก

เมื่อสมองมีการเปลี่ยนแปลงของช่วงความถี่ที่ไม่เสถียรกัน ทำให้แคลเซียม (Ca2+)เข้ามาอยู่ใน Endoplasmic reticulum(ER)มาก และภายนอกเซลล์เอา Adenosine เข้ามาผ่านช่องทางต่างๆ ยิ่งส่งผลทำให้แคลเซียม (Ca2+) เพิ่มมากยิ่งขึ้น

แคลเซียม (Ca2+) ที่มากเกินไปจะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นให้เซลล์ประสาททำงานมากขึ้น (Neuro excitability) และเกิดการปล่อยถุง Vesicle ออกไป (vesicular release) โดยภายในถุงนี้จะบรรจุสารสื่อประสาท glutamateไว้

เมื่อถุงนี้ถูกปล่อยออกมา  glutamate จะไปจับกับตัวรับ(Receptor) ที่บริเวณเซลล์รับสัญญาณ(Post synapse) ทำให้เกิดการกระตุ้นการชักมากขึ้น(Seizure activity)  

ในเซลล์ประสาทของเราจะมีการติดต่อสื่อสารกับเซลล์อื่นๆ เรียกว่า Synapse โดยเซล์ประสาทที่ส่งสัญญาณไปยัง synapse เรียกว่า Pre synapse cell และเซลล์ที่รับสัญญาณเรียกว่า Post synapse  ซึ่งจะติดต่อกันโดยใช้สัญญาณไฟฟ้า (electrical synapse) หรือ สัญญาณสารเคมี (chemical synapse)

จากการศึกษาการรักษาโรคลมชักด้วยสารสกัดกัญชาพบว่าสารTetrahydrocannabinol (THC)และสาร Cannabidiol (CBD) สามารถไปยับยั้งการไหลเข้าของแคลเซียม(Ca+)ได้ ทำให้ลดต้นเหตุของอาการชักได้นั่นเอง

ความเห็นต่อการนำกัญชามาใช้ในโรคลมชัก

การใช้กัญชาสามารถรักษาผู้ป่วยโรคลมชักในเด็กที่รักษายากและดื้อต่อยากันชัก เช่น ชนิด Dravet และชนิด Lennox-Gastaut syndrome (LGS) หรือผู้ใหญ่ที่ดื้อต่อยากันยาชักได้ โดยน้ำมันกัญชาที่ใช้ในการรักษา มีสารสกัด CBD สูงและสารTHC ต่ำ ในสัดส่วน20:1 เนื่องจากสาร THC ส่งผลต่ออาการจิตประสาท และการใช้กัญชาต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์อย่างใกล้ชิด

โรคลมชัก การตรวจวินิจฉัยและการให้คำปรึกษาเบื้องต้น | Latest news for  Doctors, Nurses and Pharmacists | Multidisciplinary

GWellness จีเวลเนส สหคลินิก "คลีนิกกัญชาทางการแพทย์"
 
ยินดีให้คำปรึกษา พร้อมดูแลทุกอาการเจ็บปวด โรคเฉพาะที่กัญชาช่วยได้
เปิดให้บริการทุกวัน 10.00 - 20.00
สนใจสอบถามรายละเอียด
093-596-7202
 
พิกัด : ตลาดโรงเกลือท้ายเกาะ สามโคก ปทุมธานี
 
Comments

เพิ่ม Says ในหน้าจอหลัก