#activitesวันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2565 เวลา 09.30 น. นายใหญ่ดี ดือราแม กำนันตำบลโต๊ะเด็ง ประธานสภาประชาธิปไตยตำบลโต๊ะเด็ง พร้อมด้วย นางพรพิไล มะณี ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบลโต๊ะเด็ง นางรอฮานี สามะ เจ้าหน้าที่ปกครองประจำตำบล หัวหน้าส่วนราชการตำบล ผบ. ร้อย ทพ.4814 ผญบ. ผช.ปค. ผรส. สามชิกอบต.ผู้แทนญาลัญนันบารู และบัณฑิตอาสาฯ ร่วมประชุมสภาประชาธิปไตยตำบลโต๊ะเด็ง ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. การจัดกิจกรรมตาดีกาสัมพันธ์ วันที่ 25-26 มิถุนายน 2565
2. โครงการมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน(ครัวเรือนตกเกณฑ์tpmap)
3. โครงการเสริมสร้างคนดีตามหลักการทางศาสนาเพื่อสืบสานและรักษาสังคมพหุวัฒนธรรม ที่ดีงามของจังหวัดชายแดนภาคใต้
4.โครงการ 1 ข้าราชการ 1 ครัวเรือนยากจน
5.การรักษาความปลอดภัยงานตาดีกาสัมพันธ์
การจัดการประชุมวันนี้ผ่านไปด้วยความเรียบร้อย
#สภาสันติสุขตำบล#ตำบลโต๊ะเด็ง
บอส.ซีตียาแลคอ มาหามะ
๑.ข้อมูลทางกายภาพ
ที่ตั้งและอาณาเขต
ทิศเหนือ ติต่อกับ บ้านไอสะเตีย อำเภอเจาะไอร้อง
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลปะลุรูและตำบลริโก๋
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลสุไหงปาดี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอจะแนะ
เนื้อที่ ตำบลโต๊ะเด็งมีเนื้อที่โดยปะมาณ ๕๖,๒o๙ ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ
เป็นที่ราบติดเทือกเขาสันกาลาคีรี โดยทางทิศตะวันตกเป็นเทือกเขา โดยลาดไปทางทิศตะวันออก ทิศเหนือ ทิศใต้ พื้นดินมีลักษณะเป็นพื้นราบ สวนยางพารา สวนผลไม้ และทุ่งนา
ภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศในเขตตำบลโต๊ะเด็ง สภาพอากาศทั่วไปมีฝนตกชุกตลอดทั้งปี เนื่องจากอยู่ใกล้กับน้ำตกฉัตรวารินและเทือกเขาสันกาลาคีรี
หมู่บ้านและจำนวนประชากร
ตำบลโต๊ะเด็งประกอบด้วย ๕ หมู่บ้านคือ
หมู่ที่ ๑ บ้านโต๊ะเด็ง นายใหญ่ดี ดือราแม ตำแหน่งกำนัน
หมู่ที่ ๒ บ้านโคกโก นายณรงค์ ดีพาส ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ ๓ บ้านบือราแง นายสุกรี อาแว ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ ๔ บ้านไอบาตู นายมะสะอารี บือราเฮง ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ ๕ บ้านโผลง นายสุกรี ยาการียา ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
ประชากร
ปัจจุบัน มีประชากรทั้งหมด ๗,๔๖๔ คน เป็นชาย ๓,๖๘๕ คน หญิง ๓,๗๗๙ คน
๑. บ้านโต๊ะเด็ง ๒,๐๑๔ คน ชาย ๙๗๐ คน หญิง ๑,๐๔๔ คน
๒. บ้านโคกโก ๔๘๘ คน ชาย ๒๒๓ คน หญิง ๒๖๕ คน
๓. บ้านบือราแง ๘๖๒ คน ชาย ๔๒๕ คน หญิง ๔๓๗ คน
๔. บ้านไอบาตู ๑,๘๙๕ คน ชาย ๙๖๔ คน หญิง ๙๓๑ คน
๕. บ้านโผลง ๒,๒๐๕ คน ชาย ๑,๑๐๓ คน หญิง ๑,๑๐๒ คน
- จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น ๑,๗๘๔ ครัวเรือน
- ความหนาแน่นเฉลี่ย ๑๑๙.๕๕ คน/ตารางกิโลเมตร
( ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ )
สภาพความเป็นอยู่
ความเป็นอยู่ของประชาชนตำบลโต๊ะเด็ง ส่วนใหญ่มีฐานะปานกลาง เพราะดูจากสภาพที่อยู่อาศัย ซึ่งส่วนใหญ่จะมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และมียานพาหานะกันเกือบทุกหลังคาเรือน และมีประชาชนบางกลุ่มมีฐานะยากจนแต่เป็นส่วนน้อย ความสัมพันธ์ของคนในตำบลโต๊ะเด็งมีความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกันประชากรมีทั้งไทยพุทธและมุสลิมปะปนอยู่ด้วยกันมาตั้งแต่ก่อตั้งตำบลโต๊ะเด็ง
การนับถือศาสนา
-ศาสนาอิสลาม ๘๙ %
-ศาสนาพุทธ ๑๑ %
๒.สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยาง และรองลงมาทำสวนผลไม้ เช่นทุเรียน ลองกอง ทำนา เลี้ยงสัตว์ และค้าขาย
-อาชีพการเกษตร ๗๕%
-อาชีพค้าขาย ๑๕%
-อาชีพรับจ้าง ๑o%
พื้นที่การเพาะปลูก
๑. พื้นที่ปลูกยางพารา จำนวน ๑o,๘๒๑ ไร่
๒. พื้นที่ปลูกลองกอง จำนวน ๒,๗๑๒ ไร่
๓. พื้นที่ปลูกเงาะ จำนวน ๑,๓๕o ไร่
๔. พื้นที่ปลูกทุเรียน จำนวน ๑,๓๕๖ ไร่
๕. พื้นที่นาทั้งหมด จำนวน ๖๓๓ ไร่
แหล่งท่องเที่ยวในตำบลโต๊ะเด็ง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกฉัตรวาริน
น้ำตกฉัตรวาริน อุทยานแห่งชาติบูโด – สุไหงปาดี น้ำตกฉัตรวารินตั้งอยู่บริเวณบ้านโผลง
ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี
น้ำตกฉัตรวาริน เกิดจากเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งประกอบด้วย เทือกเขาสลับซับซ้อนยอดยาวจากอำเภอสุไหงปาดีไปจรดอำเภอแว้งและอำเภอสุคีริน ทางตอนใต้และทางทิสเหนือจรดอำเภอระแงะมียอดเขาที่สูงสุด คือ ยอดเขาตะแว สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 1,800 ฟุต ซึ่งเทือกเขาแห่งนี้เป็นป่าดิบชื้นดีมากด้วยพันธุ์ไม้ที่มีค่า เช่น ปาร์มบังสูรย์ ไม้หลุมพอ ไม้ตะเคียนทอง และใบไม้สีทองรวมไปถึงสัตว์ป่าหายาก
เช่น สมเสร์จ นกเงือก เป็นต้น
เดิมน้ำตกฉัตรวารินได้รับการจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมือปี พ.ศ. 2519 และเปลี่ยนชื่อ เป็นหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติบูโด – สุไหงปาดี บด.2 (น้ำตกฉัตรวาริน) เมื่อมีการประกาศพระราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 116 ตอนที่ 48 ก 17มิถุนายน 2542 มีผลบังคับใช้ 18 มิถุนายน 2542 พร้อมกับน้ำตกปาโจซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
น้ำตกฉัตรวารินตั้งชื่อตามตำนานพื้นบ้านเล่าขานสืบต่อกันมาว่า น้ำตกฉัตรวาริน แห่งนี้เมื่อครั้งโบราณวันดีคืนดีมักได้ยินเสียงดนตรีมะโย่งหรือโนราห์แว่วดังมาจากน้ำตกเสมอๆ เมื่อชาวบ้านพากันไปดูหลาย ๆ คนก็ไม่พบเห็นสิ่งใดเลย กระทั้งผู้เฒ่าชื่อ “ โต๊ะเด็ง ” แอบขึ้นไปดูตามเสียงดนตรีเพียงลำพังปรากฎภาพชายหญิงคู่หนึ่งออกมาร่ายรำทำนองมะโย่งหรือโนราห์ โดยมีร่มขนาดใหญ่หรือฉัตรกางอยู่แล้ว ก็หายไปต่อหน้าจากเรื่องที่พบเห็นนี้ ชาวบ้านจึ้งนำมาตั้งชื่อ ตามภาษาท้องถิ่นว่า ‘’ไอปายง’’ หรือน้ำตกฉัตร แปลว่า น้ำตกกางรม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2510 – 2511 อำเภอได้ทำการปรับปรุงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นจึงตั้งชื่อน้ำตกแห่งนี้ว่าเป็นทางการจากความหมายเดิมว่า ‘ น้ำตกฉัตรวาริน ’ มาจนถึงปัจจุบัน
๓.สภาพทางสังคม
สถานศึกษาในตำบลโต๊ะเด็ง
- โรงเรียนประถมศึกษา มี ๔ แห่ง
๑. โรงเรียนบ้านโต๊ะเด็ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑
๒. โรงเรียนบ้านบือราแง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓
๓. โรงเรียนบ้านไอบาตู ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔
๔. โรงเรียนบ้านโผลง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕
- ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านมี ๔ แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมี ๒ แห่ง
๑. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไอบาตู ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔
๒. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโผลง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕
- โรงเรียนปอเนาะมี ๑ แห่ง
โรงเรียนปอเนาะมิฟตาฮูลอิสลาม
วัดมี ๒ แห่ง
๑. วัดลอยประดิษฐ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑
๒. วัดรัตนานุภาพ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒
มัสยิด มี ๖ แห่ง
๑. มัสยิดอาซามียะห์ หมู่ที่ ๑ บ้านโต๊ะเด็ง
๒. มัสยิดฟิกรียาตุลอิสลามียะห์ หมู่ที่ ๓ บ้านบือราแง
๓. มัสยิดอัลการอมะห์ หมู่ที่ ๓ บ้านบือราแง
๔. มัสยิดอิสลามียะห์ หมู่ที่ ๔ บ้านไอบาตู
๕. มัสยิดปะลง(อาบีดีน) หมู่ที่ ๕ บ้านโผลง
๖. มัสยิดนูรุดดีน(ไอปายง) หมู่ที่ ๕ บ้านโผลง
โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม โรงเรียนตาดีกาและโรงเรียนปอเนาะ มี ๘ แห่งดังนี้
๑. โรงเรียนมิฟตาฮูลอิสลาม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านโต๊ะเด็ง
๒. โรงเรียนตาดีกาตีฟลียะห์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านโต๊ะเด็ง
๓. โรงเรียนตาดีกาอาซาซุดดีน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านโต๊ะเด็ง
๔. โรงเรียนตาดีกาฟิกรียาตุลอิสลามียะห์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ บ้านบือราแง
๕. โรงเรียนตาดีกาอัลการอมะห์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ บ้านบือราแง
๖. โรงเรียนตาดีกาอัตตรีมียะห์ อัลกอยะห์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ บ้านไอบาตู
๗. โรงเรียนตาดีกาอิศฮานุซุนนะห์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ บ้านโผลง
๘. โรงเรียนตาดีกานูรุดดีน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ บ้านโผลง
สถานที่สำคัญของตำบลโต๊ะเด็ง
๑. น้ำตกฉัตรวาริน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ บ้านโผลง
๒. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านโต๊ะเด็ง
๓. สถานีรถไฟโต๊ะเด็ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านโต๊ะเด็ง
๔. องค์การบริหารส่วนตำบลโต๊ะเด็ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านโต๊ะเด็ง
๕. วัดลอยประดิษฐ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านโต๊ะเด็ง
๖. วัดรัตนานุภาพ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านโคกโก
๗. ฟาร์มตัวอย่าง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านโคกโก
๘. โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน ๔ แห่ง
๙. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่ที่ ๔ และ หมู่ที่ ๕
๑๐. มัสยิด จำนวน ๖ แห่ง
๑๑. ชุดคุ้มครองตำบลโต๊ะเด็ง จำนวน ๑ แห่ง
จำนวนบุคลากร ตำบลโต๊ะเด็งประกอบด้วย
๑. ปลัดอำเภอประจำตำบล ๑ คน
๒. เจ้าหน้าที่ปกครอง ๑ คน
๓. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ๑ คน
๔. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ๑ คน
๕. เจ้าหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๑ คน
๖. กำนัน ๑ คน
๗. ผู้ใหญ่บ้าน ๔ คน
๘. บัณฑิตตำบล ๑ คน
๙. บัณฑิตอาสาฯ ๕ คน
#สภาสันติสุขตำบล#ตำบลโต๊ะเด็ง
ลบ คอมเมนท์
คุณต้องการลบคอมเมนท์นี้ใช่หรือไม่ ?