"ทอดกฐินสามัคคี"

จังหวัดสตูล อำเภอควนกาหลง

วันอังคาร ที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๘.๓๐ น. ณ วัดอุไดพัฒนาวาส (วัดผัง ๓) หมู่ที่ ๔ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

พระครูสุวัตถิ์พัฒนาภรณ์ เจ้าคณะตำบลอุใดเจริญ เจ้าอาวาสวัดอุไดพัฒนาวาส ร่วมกับ นายสมหมาย ทองช่วย กำนันตำบลอุใดเจริญ นายเสรี เตชะวันโต ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๔ นายชัยเจริญ เล็กบางพงค์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๘ นายสมปอง จันทร์ปล้อง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๙ คณะกรรมการวัด บัณฑิตอาสาฯ และประชาชน ตำบลอุใดเจริญ ทั้ง ๔ หมู่บ้าน หมู่ที่ ๑,๔,๘,๙ ร่วมจัดงานทอดกฐินสามัคคี ประจำปี ๒๕๖๗ มีวัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุนสร้างกุฎิพระสงฆ์หลังใหม่ และร่วมต้อนรับคณะเจ้าภาพองค์กฐิน คุณพ่ออรรตถัน รูปต่ำ คุณแม่สุจินต์ นันทรัตน์ และลูกๆ และมีพุ่มกฐิน จากผู้มีจิตศัทธา จำนวน ๕๑ พุ่ม รวมทั้งพุทธศาสนิกชนผู้มาร่วมทำบุญในครั้งนี้ ซึ่งการทอดกฐินสามัคคีในครั้งนี้ได้แสดงถึงความรัก ความสามัคคี ภายในตำบล ประชาชนทุกหมู่บ้านช่วยกันเป็นเจ้าบ้านที่ดีสร้างความสุขให้กับคนที่มาทำบุญ ทุกคนอิ่มอก อิ่มใจ อิ่มบุญ กันถ้วนหน้า

จำนวนเงินที่ได้จากการทอดกฐินสามัคคีในครั้งนี้ ทั้งสิ้น ๑,๔๖๖,๒๒๐ บาท ขอให้บุญกุศลที่ร่วมกันทำ จงดลบันดาล ให้นักบุญทุกท่าน ประสพแต่สิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิตด้วยเทอญ

รายงานโดย นางสาวนพรัตน์ หนูจันทร์ บัณฑิตอาสาฯ บ้านผัง ๓,๑๒๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

#ปกครองท้องที่
#ทอดกฐินสามัคคี
#เพื่อสมทบทุนสร้างกุฏิพระสงฆ์หลังใหม่
#ประชาชนได้ร่วมกันทำบุญเพื่อสร้างกุฏิพระสงฆ์หลังใหม่

image
image
image

“ประเพณีชักพระ"

จังหวัดสตูล อำเภอควนกาหลง

วันศุกร์ ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ วัดอุไดพัฒนาวาส (วัดผัง ๓) หมู่ที่ ๔ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

บัณฑิตอาสาฯ ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ ตำบลอุใดเจริญ ร่วมกันลากเรือพระ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการพัฒนาด้านศาสนา รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่น ประเพณีการชักพระถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาที่คนไทยศาสนาพุทธส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับประเพณีนี้มากเพราะเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีพร้อมใจกันในการทำบุญทำทาน จึงให้สาระและความสำคัญ ชาวบ้านได้รู้ว่าอานิสงส์ในการลากเรือพระดีอย่างไร ดังนั้นประเพณีชักพระจึงเป็นภูมิปัญญาทางด้านท้องถิ่นของคนภาคใต้ และทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้คงอยู่สืบทอดต่อไป

รายงานโดย นางสาวนพรัตน์ หนูจันทร์ บัณฑิตอาสาฯ บ้านผัง ๓,๑๒๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

#ปกครองท้องที่
#ประเพณีชักพระ
#เพื่อลากเรือพระ
#สืบสานวัฒนธรรมประเพณี

image
image
image

"ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหณะ"

จังหวัดสตูล อำเภอควนกาหลง

วันศุกร์ ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๖.๓๐ น. ณ วัดอุไดพัฒนาวาส (วัดผัง ๓) หมู่ที่ ๔ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

บัณฑิตอาสาฯ ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ตักบาตรเทโว ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติ พุทธศาสนิกชน นำอาหารถวายพระภิกษุสงฆ์ เพื่อให้เกิดความศรัทธาในการปฏิบัติตามหลักทาน ศีล ภาวนา และความไม่ประมาทในการประกอบคุณงามความดี สร้างความรัก ความสามัคคี และรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อันดีงาม เพื่อให้ชนรุ่นหลังสืบทอดต่อไป

รายงานโดย นางสาวนพรัตน์ หนูจันทร์ บัณฑิตอาสาฯ บ้านผัง ๓,๑๒๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

#ปกครองท้องที่
#ตักบาตรเทโวหรือตักบาตรเทโวโรหณะ
#เพื่อตักบาตรเนื่องในวันออกพรรษา
#สืบสานวัฒนธรรมประเพณี

image
image
image

"ฉีดพ่นหมอกควันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย"

จังหวัดสตูล อำเภอควนกาหลง

วันพฤหัสบดี ที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ บ้านผัง ๓ หมู่ที่ ๔ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่พ่นหมอกควันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก บริเวณโดยรอบบ้านเรือนของประชาชน พร้อมให้คำแนะนำการป้องกันโรคไข้เลือดออก

รายงานโดย นางสาวนพรัตน์ หนูจันทร์ บัณฑิตอาสาฯ บ้านผัง ๓,๑๒๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

#องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ
#ฉีดพ่นหมอกควันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
#เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
#ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

image
image
image

“วันสารทเดือนสิบ (ชิงเปรต)"

จังหวัดสตูล อำเภอควนกาหลง

วันพุธ ที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๓๐ น. ณ วัดอุไดพัฒนาวาส (วัดผัง ๓) หมู่ที่ ๔ ตำบลอุไดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

บัณฑิตอาสาฯ ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ทำบุญเนื่องในวันสารทเดือนสิบ (บุญหลัง วันส่งตายาย) ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ทำบุญให้บรรพบุรุษที่ได้ล่วงลับไปแล้ว โดยเตรียมอาหาร ผลไม้ และขนมเดือนสิบ เช่น ขนมพอง ขนมลา ขนมเจาะหู ขนมเทียน ขนมต้ม เพื่อนำไปวางให้ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ให้มารับเอาสิ่งของดังกล่าวไปใช้รับประทาน นุ่งห่ม และเป็นเครื่องเล่น ตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อันดีงาม เพื่อให้ชนรุ่นหลังสืบทอดต่อไป

รายงานโดย นางสาวนพรัตน์ หนูจันทร์ บัณฑิตอาสาฯ บ้านผัง ๓,๑๒๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

#ปกครองท้องที่
#วันสารทเดือนสิบชิงเปรต
#เพื่อทำบุญให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
#สืบสานวัฒนธรรมประเพณี

image
image
image

เพิ่ม Says ในหน้าจอหลัก